วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การวัดผลและประเมินผล : ความหมายและประเภท


..............การวัดผล (Measurement) คือการกำหนดตัวเลขให้กับวัตถุ สิ่งของ เหตุการณ์ ปรากฎการณ์ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ หรืออาจใช้เครื่องมือไปวัดเพื่อให้ได้ตัวเลขแทนคุณลักษณะต่าง ๆ เช่น ใช้ไม้บรรทัดวัดความกว้างของหนังสือได้ 3.5 นิ้ว ใช้เครื่องชั่งวัดน้ำหนักของเนื้อหมูได้ 0.5 กิโลกรัม ใช้แบบทดสอบวัดความรอบรู้ในวิชาภาษาไทยของเด็กชายแดงได้ 42 คะแนน เป็นต้น

............................การวัดผลแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
........1. วัดทางตรง วัดคุณลักษณะที่ต้องการโดยตรง เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก ฯลฯ มาตราวัดจะอยู่ในระดับ Ratio Scale
........2. วัดทางอ้อม วัดคุณลักษณะที่ต้องการโดยตรงไม่ได้ ต้องวัดโดยผ่านกระบวนการทางสมอง เช่น
วัดความรู้ วัดเจตคติ วัดบุคลิกภาพ ฯลฯ มาตราวัดจะอยู่ในระดับ Interval Scale


............................การวัดทางอ้อมแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ
........2.1 ด้านสติปัญญา (Cognitive Domain) เช่น วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วัดเชาวน์ปัญญา วัดความถนัดทางการเรียน วัดความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
........2.2 ด้านความรู้สึก (Affective Domain)
เช่น วัดความสนใจ วัดเจตคติ วัดบุคลิกภาพ วัดความวิตกกังวล วัดจริยธรรม ฯลฯ
........2.3 ด้านทักษะกลไก (Psychomotor Domain)
เช่น การเคลื่อนไหว การปฏิบัติโดยใช้เครื่องมือ ฯลฯ
การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดรวมกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินมาใช้ในการตัดสินใจ โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เพื่อให้ได้ผลเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เนื้อหมูชิ้นนี้หนัก 0.5 กิโลกรัมเป็นเนื้อหมูชิ้นที่เบาที่สุดในร้าน (เปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม) เด็กชายแดงได้คะแนนวิชาภาษาไทย 42 คะแนนซึ่งไม่ถึง 50 คะแนนถือว่าสอบไม่ผ่าน (ใช้เกณฑ์ที่ครูสร้างขึ้น) เป็นต้น


..................การประเมินผลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท การประเมินแบบอิงกลุ่มและการประเมินแบบอิงเกณฑ์
.........1. การประเมินแบบอิงกลุ่ม
เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น ๆ ที่ได้ทำแบบทดสอบเดียวกันหรือได้ทำงานอย่างเดียวกัน นั่นคือเป็นการใช้เพื่อจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่ม การประเมินแบบนี้มักใช้กับการ การประเมินเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ หรือการสอบชิงทุนต่าง ๆ
........2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับเกณฑ์หรือจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ เช่น การประเมินระหว่างการเรียนการสอนว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่



ข้อแตกต่างระหว่างการประเมินผลแบบอิงกลุ่มและอิงเกณฑ์

การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม
.........1. เป็นการเปรียบเทียบคะแนนที่ได้กับคะแนนของคนอื่น ๆ
.........2. นิยมใช้ในการสอบแข่งขัน
.........3. คะแนนจะถูกนำเสนอในรูปของร้อยละหรือคะแนนมาตรฐาน
.........4. ใช้แบบทดสอบเดียวกันทำหรับผู้เรียนทั้งกลุ่มหรืออาจใช้แบบทดสอบคู่ขนาน เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกันได้
.........5. แบบทดสอบมีความยากง่ายพอเหมาะ มีอำนาจจำแนกสูง
.........6. เน้นความเที่ยงตรงทุกชนิด


การประเมินแบบอิงเกณฑ์
........1. เป็นการเปรียบเทียบคะแนนที่ได้กับเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
........2. สำหรับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนหรือเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
........3. คะแนนจะถูกนำเสนอในรูปของผ่าน-ไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
........4. ไม่ได้เปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ จึงไม่จำเป็นต้องใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกันกับผู้เรียนทั้งชั้น
........5. ไม่เน้นความยากง่าย แต่อำนาจจำแนกควรมีพอเหมาะ
........6. เน้นความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา


เอกสารชุดนี้จัดทำโดย : ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. เมษายน ๒๕๔๔


บทความน่าสนใจ :
บคความวัดผลการศึกษา

การเขียนบทความการวิจัย โดย สุวิมล ว่องวินิช


วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แนวทางการสร้างจิตสาธารณะ



แนวทางการสร้างจิตสาธารณะ

......................การสร้างจิตสาธารณะ เป็นความรับผิดชอบในตนเอง แม้ว่าจะได้รับการอบรมสั่งสอนถ้าใจตนเองไม่ยอมรับ จิตสาธารณะก็ไม่เกิด ฉะนั้นคำว่า "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" จึงมีความสำคัญส่วนหนึ่งในการสร้างจิตสาธารณะถ้าตนเองไม่เห็นความสำคัญแล้วคงไม่มีใครบังคับได้

.....................นอกจากใจของตนเองแล้ว แนวทางที่สำคัญในการจิตสาธารณะยังมีอีกหลายประการถ้าปฏิบัติได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

...................1. สร้างวินัยในตนเอง ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในระบบประชาธิปไตย รู้ถึงขอบเขตของสิทธิ เสรีภาพหน้าที่ ความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม

....................2. ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ตระหนักเสมอว่าตนเอง คือส่วนหนึงของสังคมต้องมีความรับผิดชอบในการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องของส่วนรวม ทั้งต่อประเทศชาติ และโลกใบนี้

....................3. ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม ให้ถือว่าเป็นปัญหาของตนเอง เช่นกันอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ ต้องช่วยกันแก้ไข เช่น ช่วยกันดำเนินการให้โรงงานอุตสาหกรรมสร้างบ่อพักน้ำทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ

.....................4. ยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต เพราะหลักธรรมหรือคำสั่งสอนในทุกศาสนาที่นับถือ สอนให้คนทำความดีทั้งสิ้น ถ้าปฏิบัติได้จะทำให้ตนเองมีความสุข นอกจานี้ยังก่ิอให้เ้กิดประโยชน์ต่อสังคมด้วยทำให้เราสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข



ตัวอย่างหลักธรรมทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับตนเอง


..............พระพุทธศาสนา
...............หลักคำสอนในการช่วยเหลือ หรือพึ่งพาตนเอง ที่พุทธศาสนิกชนได้ยินจากพุทธสุภาษิตอยู่เสมอ คืออัตตาหิ อัตตโน นาโถ หรือตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

..............คริสต์ศาสนา
..............หลักคำสอนในศาสนาคริสต์ คือ ต้องรู้จักช่วยเหลือตนเองก่อน แล้วพระเจ้าจะช่วยท่าน

..............ศาสนาอิสลาม
..............หลักคำสอนจะคล้ายกับคริสต์ศาสนา ก็คือ ให้รู้จักช่วยตนเอง และรู้จักเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีเสียก่อนแล้วพระเจ้าจะช่วยท่าน

ข้อมูลเพิ่มเติม http://edu.e-tech.ac.th/mdec/learning/s1301/unit08.html

สร้างเด็กไทยให้มี จิตสาธารณะ


ปัจจัยที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ




ปัจจัยที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ


..................
การมีจิตสาธารณะนั้น เป็นสิ่งที่เกิดตามวิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม ซึ่งไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจร (2543 : 13) สรุปว่า จิตสาธารณะ หรือ จิตสำนึกทางสังคม อยู่ภายใต้อิทธิพลของปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ดังนี้

.....................ปัจจัยภายนอก เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับภาวะทางสัมพันธภาพของมนุษย์ ภาวะทางสังคมเป็นภาวะที่ลึกซึ้งที่มีผลต่อจิตสำนึกด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ เป็นภาวะที่ได้อบรมกล่อมเกลา และสะสมอยู่ในส่วนของการรับรู้ทีละเล็กทีละน้อย ทำให้เกิดสำนึกที่มีรูปแบบหลากหลาย ภาวะแวดล้อมทางสังคมนี้เริ่มตั้งแต่พ่อแม่พี่น้อง ญาติ เพื่อน ครู สื่อมวลชน บุคคลทั่วไป ตลอดจนระดับองค์กร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมาย ศาสนา รวมทั้งภาวะแวดล้อมด้านสื่อสารมวลชน และส่วนที่กำกับสำนึกของบุคคล คือ การได้สัมผัสจากกใช้ชีวิตที่มีพลังต่อการเกิดสำนึก อาทิ การไปโรงเรียน ไปทำงาน ดูละคร ฟังผู้คนสนทนากัน เป็นต้น

.....................ปัจจัยภายใน สำนึกที่เกิดจากปัจจัยภายใน หมายถึง การคิดวิเคราะห์ของแต่ละบุคคลในการพิจารณาตัดสินคุณค่าและความดีงาม ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมและการประพฤติปฏิบัติโดยเฉพาะการปฏิบัติทางจิตใจ เพื่อขัดเกลาตนเองให้เป็นไปทางใดทางหนึ่ง โดยเกิดจากการรับรู้จากการเรียนรู้ การมองเห็น การคิด แล้วนำมาพิจารณาเพื่อตัดสินใจว่าต้องการสร้างสำนึกแบบใด ก็จะมีการฝึกฝนและสร้างสมสำนึกเหล่านั้น

...................การเกิดจิตสำนึกไม่สามารถสรุปแยกแยะได้ว่าเกิดจากปัจจัยภายในหรือภายนอกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะทุกสรรพสิ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน จิตสำนึกที่มาจากภายนอกเป็นการเข้ามาโดยธรรมชาติ กระทบต่อความรู้สึกของบุคคล แล้วกลายเป็นจิตสำนึกโดยธรรมชาติ และมักไม่รู้ตัว แต่จิตสำนึกที่เกิดจากปัจจัยภายในเป็นความจงใจเลือกสรร บุคคล ระลึกรู้ตนเองเป็นอย่างดี เป็นสำนึกที่สร้างขึ้นเอง ระหว่างปัจจัยภายใน และภายนอก เป็นปฏิสัมพันธ์ที่มีความต่อเนื่องกัน ดังนั้น การพัฒนาจิตสำนึกจึงต้องกระทำควบคู่กันไปทั้งปัจจัยภายในและภายนอก
อ้างอิงจาก http://ireo.bu.ac.th/moral.doc

“จิตสาธารณะ” ทุนของมนุษย์ในโลกยุคใหม่





...................“บุคคลจะสามารถเอาตัวรอดและประสบความสำเร็จทั้งในด้านการทำงาน และการดำเนินชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ได้จะต้องมีจิตสาธารณะทั้ง 5 ประการ ประกอบรวมอยู่ในตัวของคนๆนั้น นอกจากนี้จิตสาธารณะทั้ง 5 ยังจะช่วยจรรโลงให้สังคมโลกในอนาคตเป็นสังคมที่น่าอยู่มากยิ่งขึ้น”

.....................ข้อความข้างต้นคือข้อสรุปจากหนังสือ Five minds for the Future ซึ่งเป็นหนังสือเล่มล่าสุดของ Howard Gardner นักวิชาการด้านการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้เขียนเรื่อง Frame of Minds และ Changing Minds ที่เคยจุดประเด็น ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) จนโด่งดังไปทั่วทั้งวงการศึกษาที่มีแนวคิดแตกต่างออกไปว่า…“

.......................ความฉลาดนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการวัดจากไอคิว ซึ่งเน้นแค่การคำนวณ ตรรกะและภาษาเพียงเท่านั้น แต่ความฉลาดนั้นมีด้วยกันหลายด้านและมนุษย์แต่ละคนนั้นก็มีความฉลาดเฉพาะตนที่แตกต่างกันออกไป”ในหนังสือเล่มล่าสุดของ Gardner ที่สำนักงาน ก.พ.กำลังเตรียมที่จะนำสาระมาถ่ายทอดเป็นหนังสือน่าอ่าน ได้ชี้ให้เห็นและเน้นความสำคัญของ “ความฉลาดหรือทักษะ” ซึ่ง Gardner ใช้แทนด้วยคำว่า “จิต” (Mind) ทั้ง 5 ประการที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในทุกๆด้านในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งจิตทั้ง 5 นั้นประกอบไปด้วย

...........1.จิตแห่งวิทยาการ (Disciplined Mind) หมายถึง “การเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดเป็น ทำเป็น”
...........2.จิตแห่งการสังเคราะห์ (Synthesizing Mind) หมายถึง “การสั่งสม ต่อยอด และสร้างนวัตกรรมความรู้”
...........3.จิตแห่งการสร้างสรรค์ (Creating Mind) ที่เชื่อว่า “ความคิดสร้างสรรค์สร้างด้วยการหมั่นฝึกฝน”
..........4.จิตแห่งความเคารพ (Respectful Mind) หมายถึง “การเปิดใจกว้างพร้อมรับฟังทุกความคิดเห็น” และ
...........5.จิตแห่งคุณธรรม (Ethical Mind) อันสรุปได้ว่า “ความรู้คู่คุณธรรม นำการพัฒนา


..................”Gardner ยังได้เน้นว่า จิตทั้ง 5 นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อมนุษย์ในโลกยุคใหม่ และจะต้องมีครบทั้ง 5 จิต จะขาดจิตใดจิตหนึ่งไปเสียไม่ได้ เพราะจิตทั้ง 5 มีผลต่อการพัฒนาตัวบุคคลทั้งในแง่การทำงานและการดำเนินชีวิต ซึ่งจะส่งผลให้สังคมมีคนที่มีคุณภาพ โดยจะกลายเป็นพลังในการที่จะขับเคลื่อน องค์กร สังคม และประเทศชาติให้ก้าวไปสู่จุดมุ่งหมาย และยืนหยัดอยู่ภายใต้การแข่งขันในโลกยุคใหม่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน


...............ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้สาธารณะด้านการจัดการทุนมนุษย์ สำนักงาน ก.พ. ได้อธิบายถึงความจำเป็นในการเร่งพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทยว่า โลกในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมมาสู่สังคมฐานความรู้ ซึ่งกุญแจแห่งความสำเร็จในสังคมฐานความรู้นั้นประกอบไปด้วย

..........1.รู้หรือไม่ว่าในโลกนี้มีอะไร (Knowing)
..........2.รู้แล้วนำมาคิดต่อยอดได้หรือไม่ (Thinking)
..........3.นำความคิดนี้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้หรือไม่ (Serving) และ
.........4.นำความรู้ที่มีและได้มานั้นมาเป็นประสบการณ์ได้หรือไม่ (Experiencing)

...........ซึ่งทั้ง 4 ข้อนี้คือองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมฐานความรู้ แต่ในสังคมหลังฐานความรู้จะมีองค์ประกอบที่สำคัญอีก 4 ข้อเข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งประกอบไปด้วย
...........1.ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจต่อกัน (Trusting)
...........2.ความใส่ใจต่อผู้อื่น (Caring)
............3.การแบ่งบันกับผู้อื่น (Sharing) และ
...........4.ความร่วมมือร่วมใจ (Collaborating)

...............สรุปได้ว่าในโลกยุคสังคมหลังฐานความรู้จะเป็นการรวมกันขององค์ประกอบหลัก จากสังคมทั้งสองยุค แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของโลกว่ากำลังย้อนกลับไปสู่ค่านิยมในเรื่องของจิตใจที่ดีงามในยุคของสังคมเกษตรกรรม แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็ได้นำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้ให้เกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

................ซึ่งองค์ประกอบจากสังคมทั้ง 2 ยุคสอดคล้องกับกับแนวคิดเรื่อง “จิตทั้ง 5” ของ Gardner อย่างลงตัว และมีเป้าหมายเดียวกันกับนโยบายการบริหารประเทศ ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่มุ่งเน้นในเรื่องของ “การเตรียมความพร้อมของคนไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะต้องเผชิญในอนาคต”

....................นั่นก็หมายถึงว่านอกจากเราจะสร้างความรู้ให้กับคนแล้ว ยังจะต้องสร้างและพัฒนา ความคิด ทัศนคติ มุมมองต่อโลกและสังคม ในแง่ของ “จิตใจ” ตามแนวทางการพัฒนา “ความรู้คู่คุณธรรม” ให้เกิดขึ้นกับคนในสังคมและประเทศชาติ

.......................“โลกในยุคสังคมหลังฐานความรู้จะมุ่งเน้นไปสู่เรื่องของการใส่ใจและการแบ่งปัน คือการที่คนเรามีค่านิยมในเรื่องของจิตสาธารณะก็จะทำให้คนเราเกิดความใส่ใจและห่วงใยกัน แต่ในขณะเดียวกันเราก็นำเอาความรู้หรือข้อมูลต่างๆที่มีออกไปเผยแพร่และแบ่งปันกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือหัวใจหลักของการพัฒนาทุนมนุษย์” ดร.สุวิทย์ กล่าวสรุป
....................การเตรียมความพร้อมของคนไทย เพื่อรองรับกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมในเรื่องของกำลังคนให้มีคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในอนาคตดังที่ Gardner ได้กล่าวไว้ใน Five Minds for the Future นั่นเอง

แล้วสมาชิกทุกท่านคิดอย่างไรค่ะ

อ้างอิงจาก :http://gotoknow.org/blog/administer1-c/216833

จิตสาธารณะคืออะไร

จิตสาธารณะหรือจิตสำนึกสาธารณะ (PublicConsciousness)
..............1.ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของจิตสำนึกทางสังคม หรือจิตสำนึกสาธารณะว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน
.............2.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายว่า การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

...............สรุป จิตสาธารณะ หมายถึงจิตที่คิดสร้างสรรค์ เป็นกุศล และมุ่งทำกรรมดีที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม•คิดสร้างสรรค์ คือ คิดในทางที่ดี ไม่ทำลายบุคคล สังคม วัฒนธรรม ประเทศชาติและสิ่งแวดล้อม•กรรมดี คือ การกระทำ และคำพูดที่มาจากความคิดที่ดี